PayloadMessage¶
การทำงานโฟลว์ภายในโฟลว์นั้น จะใช้วิธีการส่งข้อความถึงกันระหว่างแต่ละโหนด โดยค่าข้อความเหล่านั้นที่ส่งไปจะออกไปในลักษณะของอ็อบเจกต์ (Object) อย่างง่ายของ JavaScript ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆ ภายใน ซึ่งค่าเริ่มต้นของข้อความที่ถูกส่งออกไปนี้จะถูกเรียกว่า msg ซึ่งภายในอ็อบเจกต์ msg จะประกอบไปด้วยตัวแปรหลัก ๆ ชื่อ payload ซึ่งเป็นตัวแปรเริ่มต้นที่
โหนดส่วนใหญ่ในโฟลว์จะนำไปใช้ นอกเหนือจากนั้นยังมีตัวแปรชื่อ _msgid ที่ใช้ระบุตัวตนของข้อความเพื่อใช้ในการติดตามการเคลื่อนไหวของโฟลว์ได้อีกด้วย
{ "_msgid": "12345", "payload": "..." }
ในการเข้าถึงค่าตัวแปรเหล่านี้ที่อยู่ภายในอ็อบเจกต์ msg ผู้ใช้งานสามารถทำได้โดยการใช้ . ต่อท้ายอ็อบเจกต์ msg เพื่อเรียกชื่อตัวแปรที่อยู่ภายใน msg มาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเรียกดูค่าข้อมูล payload ที่อยู่ภายในอ็อบเจกต์ msg ผู้ใช้งานสามารถใช้ msg.payload ในการเรียกค่าข้อมูลนั้นออกมาดูได้ เป็นต้น ค่าข้อมูลที่ถูกส่งควบคู่ไปกับค่าตัวแปรต่าง ๆ นั้นล้วนแต่ต้องเป็นค่าตัวแปรที่สามารถยอมรับได้โดยภาษา Javascript ทั้งสิ้น เช่น ค่าความจริง (Boolean; true, false) ตัวเลข (Number) ค่าข้อความ (String) รายการข้อมูล (Array; เช่น [1,2,3,4] เป็นต้น) อ็อบเจกต์ (Object; เช่น {“a”: 1, “b”: 2} เป็นต้น) หรือค่าข้อมูลที่ไม่มีข้อมูล (Null) เป็นต้น ในการดูข้อความที่ถูกส่งไปเหล่านี้ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบได้โดยการส่งข้อความไปยังโหนด ‘Debug’ และดูค่าข้อมูลในแถบเมนู Debug (🐞)

ด้านบนสุดจะแสดงชื่อของตัวแปรที่ถูกส่งไป ซึ่งค่าเริ่มต้น msg.payload จะถูกนำมาใช้งานในส่วนนี้
ถัดจากชื่อของตัวแปรคือประเภทของค่าที่ถูกส่งไป เช่น Object, String, Array เป็นต้น
ถัดลงมาด้านล่างจะแสดงผลค่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกนำส่งไปซึ่งผู้ใช้งานสามารถย่อ-ขยายการแสดงค่าข้อมูลได้โดยการคลิกที่ลูกศรที่อยู่ด้านข้างของค่าข้อมูลนั้น ๆ
หากผู้ใช้งานทำการนำเมาส์ไปวางเหนือค่าข้อมูลใด ๆ (ปรากฏเป็นแถบสีเทาที่ค่าข้อมูลนั้น) จะแสดงให้เห็นปุ่มเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านบนขวาของข้อมูล:

‘>_’ จะเป็นการคัดลอกที่อยู่ของค่าข้อมูลนี้ออกไปใช้งาน ซึ่งในรูปจะเป็นการคัดลอก payload.data.humidity ออกมา
ข้อสังเกต ข้อความที่ถูกส่งอยู่ภายในโฟลว์นั้นมักจะถูกบรรจุอยู่ใน msg.payload เสมอ ดังนั้นเมื่อผู้ใช้งานต้องการเรียกค่าข้อมูลที่อยู่ในข้อความที่ส่งไป จึงมักจะต้องมีการอ้างอิงถึง payload ดังตัวอย่างข้างต้น
‘ปุ่มที่สอง’ จะเป็นการคัดลอกค่าข้อมูลนั้นออกมาใช้งานโดยตรง เช่น ในรูปจะทำการนำ ‘50’ คัดลอกออกมา เป็นต้น
‘📍’ จะเป็นการปักหมุดข้อมูลไว้ให้แสดงผลทุกครั้งที่มีการรับค่าข้อมูลนี้เข้ามาภายในโหนด ‘Debug’ เดิมที่ใช้งานอยู่ โดยโปรแกรมจะทำการขยายค่าข้อมูลและแสดงให้เห็นค่าข้อมูลในตัวแปรนี้ที่ถูกปักหมุดเอาไว้ออกมาเสมอ